หน้าหลัก

ภาพกิจกรรม

ดาวน์โหลด

แผนที่ตั้ง

ติดต่อ/สอบถาม

:: ยินดีต้อนรับสู่ โรงเรียนธรรมภิรักษ์ :: www.thampirak.ac.th ::
หน้าหลัก
วิสัยทัศน์ ,พันธกิจ
ประวัติผู้บริหาร
เป้าหมาย
ผลการประเมินคุณภาพฯ
ผู้บริหารและครูผู้สอนดีเด่น
บุคลากรดีเด่น
หลักสูตร
การสมัคร
สื่อนวัตกรรม,ทฤษฏีการเรียนรู้
แหล่งเรียนรู้/ห้องกิจกรรม
เกียรติคุณโรงเรียน
ผลงานนักเรียน
ศิษย์เก่าทำชื่อเสียง
แผนที่ตั้ง
ภาพกิจกรรม
VDO
 

สื่อนวัตกรรม ทฤษฎีการเรียนรู้ที่โรงเรียนนำมาใช้จัดการเรียนการสอน

           หลักสูตรการจัดการเรียนทั้ง 2 โปรแกรม และทั้ง 2 ระดับ ได้มีการนำนวัตกรรม /
ทฤษฎีการเรียนรู้ มาบูรณาการจัดการเรียนการสอน ทั้งในรูปสื่อการสอน, แผนการสอน
และกิจกรรมโครงการต่างๆ
 
-
กลุ่มนวัตกรรมที่มีฐานความคิด หลักการ มาจากสมองและธรรมชาติการเรียนรู้
วิธีการรับรู้ของสมองการกระตุ้นให้สมองทำงานเต็มที่ ด้วยการจัดสิ่งแวดล้อม
ในการเรียนให้เหมาะสม ฝึกการใช้สมองอย่างสมดุลทั้ง 2 ซีก ได้แก่ BBL (Brain
Based Learning), Brain Gym, Mind Mapping และ MI (Multiple Intelligence)
 
-
กลุ่มทฤษฎีการเรียนรู้ที่เน้นทักษะกระบวนการคิดอย่างมีระบบและกระบวนการสอนที่ผู้เรียน ต้องเรียนรู้ ด้วยตนเอง Active Learning, Mind Map, 6 Thinking Hats, PBL (Problem Based Learning), Project Approach
 
-
กลุ่มทฤษฎี / เทคนิคการสอนที่เน้นการพัฒนาทักษะเฉพาะเรื่อง Montessori,
Whole Language, Storyline Method, Mega Skills, หลักปรัชญาเศรษฐกิจ
พอเพียง

ทฤษฎี , นวัตกรรม การเรียนรู้แบบผู้เรียนเป็นสำคัญ 11 เรื่อง
ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การผลิตสื่อการสอน


1. Storyline Method

   ที่มา  Dr.Steve Bell ประเทศอังกฤษ
   นิยาม วิธีการสอนบูรณาการการสอนสหวิชา ใช้การดำเนินเรื่องราวที่กำหนดตามวิถีชีวิตจริงของตัวละครเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้จุดเน้น
   - การตั้งคำถามหลักเพื่อเปิดเรื่อง , ดำเนินเรื่อง , ปิดฉาก
   - การเขียนแผนการสอนตามลำดับเรื่อง 4 องค์ประกอบ ฉาก ตัวละคร วิถีการดำเนินชีวิต เหตุการณ์/ปัญหา

บทบาทครู
   - เขียนแผน , ตั้งคำถามกระตุ้นให้แสวงหาคำตอบตามแนวเรื่อง เตรียมสื่ออุปกรณ์ สร้างฉาก ตัวละคร , เตรียมข้อมูลให้ค้นคว้า วิถีชีวิต , ร่วมกันทำโครงงาน , เชิญวิทยากรให้ความรู้ จัดแสดงผลงานปิดเรื่อง , ทำรูปเล่มรายงาน
 
ทฤษฎีอื่นที่เกี่ยวข้อง

   - Mind Map ใช้วางแผน ,สรุปเนื้อหา
   - Project Approach จัดทำโครงงานตามความสนใจ
   - 6 Thinking Hats ใช้ตั้งคำถามหลักให้ครอบคลุม
   - PBL ใช้แก้ปัญหาในช่วงเหตุการณ์
 
การสอน
   - สอน Storyline บูรณาการ วิทย์ /สังคม เป็นหลักและกระจายกิจกรรมในคณิต, ไทย ENG , ฯลฯ
 
2. Mind Mapping
   ที่มา Tony Buzan นักจิตวิทยา ชาวอังกฤษ เจ้าของสถาบัน Buzan เผยแพร่โดย BuzanLicensed Instructors ในไทย ธัญกา – ขวัญฤดี ผลอนันต์
    นิยาม วิธีการเขียนแผนผังความคิดแตกแขนงจากแก่นกลางเพื่อสรุปความรู้ตามลำดับความสำคัญของเนื้อหาใช้คำภาพสัญลักษณ์ที่จดจำง่าย
 

จุดเน้น 
   - ภาพแก่นแกนของหัวเรื่อง
   - รัศมีก้าน ของกิ่งแก้ว , กิ่งก้อย ตามสีของหัวข้อย่อย
   - คำ , ภาพ ลัญลักษณ์ช่วยในการจดจำ
   -  ความสัมพันธ์ของเนื้อหา
 
บทบาทครู
   - ช่วยนักเรียนสรุปภาพใหม่ๆ ของสิ่งที่เรียนรู้ สอนวิธีการเขียน Mind Map , ฝึกให้นักเรียนเขียนบ่อยช่วยในการจดจำข้อมูลต่างๆ และเสริมความเข้าใจว่าข้อมูลต่างๆ สัมพันธ์กันอย่างไร อะไรสำคัญตรงไหน ครูค้นคว้าตัวอย่าง Mind Map ดีๆ ไว้ให้เด็กเรียนรู้
   - ทำเสนอบทเรียน / สรุปบทเรียนด้วย Mind Map ของครู
 
การสอน
   - ใช้ว่างแผนการทำโครงงาน , สรุปความรู้ , ทำรายงานได้ทุกวิชา
 
3. Project Approach
  ที่มา  William Kilpatrick นักการศึกษาจากอเมริกา เน้นการให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้มากที่สุด
  นิยาม วิธีการสอนด้วยการทำโครงงานการศึกษาเรื่องต่างๆ ตามความสนใจของผู้เรียน
 
จุดเน้น    
   - เลือกเรียนที่จะศึกษาตามความสนใจผู้เรียน
   - กระบวนการสอน Plan , Do , Review
   - Plan วางแผนการทำงานเริ่ม – จบ กำหนดสิ่งที่อยากรู้ ทบทวนสิ่งที่รู้แล้ว หาคำตอบสิ่งที่อยากรู้ ตั้งสมมุติฐานคำตอบ
   -  Do เก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนาม จากการปฏิบัติ ค้นคว้า ทดลอง
   -  Review ทบทวนงาน เพื่อสรุปผล นำเสนอผลงาน
 
บทบาทครู  
   - กระตุ้นความสนใจให้นักเรียนอยากเรียนรู้เชิงลึกในเรื่องใด ๆ
   - เตรียมวัสดุ อุปกรณ์ การเก็บข้อมูลภาคสนาม , การทดลอง , การปฏิบัติ สังเกต  สำรวจ
   - ครูกำกับดูแลการทำงานเพื่อหาคำตอบในเรื่องที่อยากรู้ช่วยสรุปทบทวนความรู้ ทฤษฎีอื่นที่เกี่ยวข้อง
   - 6 Thinking Hats ตั้งคำถามเพื่อหาคำตอบ

   - Mind Map วางแผนการทำงาน , สรุปความรู้  
     
การสอน 
  - ทำโครงงานใน Storyline  
     
     
     
4. Problem Based Learning ( PBL )
ที่มา มหาวิทยาลัย Webb Master จาก Canada ใช้สอนนักศึกษาแพทย์
นิยาม วิธีการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานในการแสวงหาความรู้อย่างเป็นระบบ
 
จุดเน้น       
   - ครูหาปัญหาที่ควรศึกษามากำหนดเป็นตัวตั้งให้นักเรียน
   - ครูตั้งคำถามในการแสวงหาวิธีแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ
   - ขั้นตอนการสอน กำหนดปัญหา , เก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งหมด , คิดวิธีแก้ไขปัญหาหลากหลาย , ประเมินข้อดี – เสียของแต่ละวิธี , เลือกวิธีที่ดีที่สุด เหมาะสมที่สุด
 
ทฤษฎีอื่นที่เกี่ยวข้อง
   - 6 Thinking Hats ตั้งคำถามในการหาข้อมูลให้ครอบคลุม  
   -  Mind Map วางแผนทำงาน , สรุปทางเลือกต่างๆ  
   
การสอน  
   - ใช้ฝึกทักษะการแก้ปัญหาเรื่องต่างๆ ได้ทุกวิชา  
     
5.6 Thinking Hats
   ที่มา Dr. Edward De Bono เจ้าของทฤษฎีการคิดจากหมวกคำถาม
   นิยาม วิธีการฝึกทักษะการคิดโดยใช้หมวกสีต่างๆ มากำหนดแนวคิด
 
จุดเน้น
   - คำถามต้องเป็นคำถามปลายเปิดเท่านั้น    
   - ควรใช้หมวกหลายสีสลับไปมาในการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ข้อมูลให้สมบูรณ์    
   - หมวก 6 สี แทนมิติการคิดดังนี้    
  หมวกขาว = ข้อเท็จจริงของเรื่องนั้น
  หมวกแดง = อารมณ์ ความรู้สึก ที่มีต่อเรื่องนั้น
  หมวกเขียว = คิดนอกระบบ สร้างสรรค์ใหม่ ๆ
  หมวกเหลือง  = ข้อดี
  หมวกดำ = ข้อเสีย
  หมวกฟ้า = กำกับควบคุมการคิดให้ไปในทิศทาง
      ที่กำหนด
     
บทบาทครู

   -  ตั้งคำถามใช้หมวกสีต่างๆ อย่างเหมาะสม
 
การสอน  
   - ใช้ตั้งคำถามกระตุ้นความคิด อย่างรอบด้าน ครอบคลุม การคิดทุกมิติ ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนการแสวงหาความรู้
 
6. Brain Based Learning / Brain Gym
   ที่มา การศึกษาระบบการทำงานของสมอง เพื่อจัดการเรียนการสอนที่พัฒนาสมองอย่างสมดุล
   นิยาม ทฤษฎีการวิเคราะห์การทำงานของสมอง 2 ซีก เพื่อนำมาใช้เป็นข้อมูลพัฒนาสมองอย่างสมดุล
     
จุดเน้น
   - ข้อมูลการเรียนรู้ของสมอง 2 ซีก
   - การจัดกิจกรรมพัฒนาสมองให้เรียนรู้ได้ดีอย่างสมดุลด้วยการลงมือทำ Active Learning และประสาทสัมผัสทั้ง 5
   - การจัดสิ่งแวดล้อมกระตุ้นการเรียนรู้ แสง เสียง น้ำดื่ม
   - Brain Gym ท่ากายบริหารสมองเพื่อผ่อนคลาย และกระตุ้นเซลสมองให้ตื่นตัวพร้อมเรียนรู้
     
บทบาทครู        
    - ทำความเข้าใจกับทฤษฎี จัดสิ่งแวดล้อม กระตุ้นให้ดื่มน้ำเพียงพอและฝึก Brain Gym ให้เด็กสม่ำเสมอ จัดกิจกรรมฝึกสมอง
   

ทฤษฎีอื่นที่เกี่ยวข้อง  
   - เต้น 9 ช่อง  
   - เกมฝึกสมองต่างๆ  
   - MI  Multiple Intelligences  
   - WL Whole Language  
   
การสอน  
    - จัดกิจกรรมการสอนตามหลักสูตรให้เกิดสมดุลของการเรียนวิชาต่างๆ ตามการทำงานของสมอง 2 ซีก 

   

7. MI Multiple Intelligences
   ที่มา  Dr. Howard Gardner บิดาพหุปัญญา ชาวอเมริกัน
   นิยาม ทฤษฎีการวิเคราะห์ความสามารถด้านต่างๆ ของมนุษย์ 9 ด้านเพื่อนำมาใช้ ฝึกทักษะความสามารถนั้นๆ ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
 

จุดเน้น                 
   - พหุปัญญา 9 ด้าน ( แววอัจฉริยะของบุคคล )
   - ทุกคนมีโอกาสฝึกฝน 9 ด้านนี้ได้ ตามศักยภาพ
   - ค้าหาความถนัดในการประกอบอาชีพ การดำเนินชีวิต
 
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
   - เด็กที่มีความต้องการพิเศษ ทุกประเภท รวมทั้งเด็กอัจฉริยะ    
   - การพัฒนาความฉลาด ความสามารถพิเศษต่างๆ    
   -  BBL , Mega Skills ,  Whole Language    
     
การสอน    
   - จัดฐานการฝึกด้านต่างๆ    
   - วิเคราะห์ศักยภาพนักเรียนเพื่อการส่งเสริมและช่วยเหลือให้ดีขึ้นตามแต่กรณี  
   - ส่งเสริมความสามารถพิเศษด้านต่างๆ ให้เด่นชัด    
   - เพื่อความถูกต้องในการประเมินพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนรายบุคคล  
     
8.  Mega Skills
    ที่มา   Dr. Dorothy Rich ผู้ทำการวิจัยทักษะนิสัยคู่ชีวิตจัดทำเป็นหลักสูตรใช้ในโรงเรียน
ทั่วประเทศอเมริกา
    นิยาม วิธีการฝึกทักษะนิสัยคู่ชีวิต 11 เรื่อง
   
จุดเน้น      
    - Mega Skills 11 เรื่อง เป็นทั้งทักษะและคุณธรรมในการดำรงชีวิต จำเป็นต้องฝึกฝนให้เป็นนิสัย บุคลิกภาพ เพื่อความสำเร็จในชีวิต
   - รายละเอียดของทุกเรื่องต้องได้รับการฝึกฝนไม่ใช่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและจำเป็นต้องใช้ในชีวิตประจำวันตลอดชีวิต
   - Mega Skills กลุ่มทักษะ Initiative , Perserarance , Team Work  Common Sense , Problem Solving , Confidence , Focus , Effort
   - Mega Skills กลุ่มคุณธรรม Motivation , Responsibility1 , Caring , =  การให้คุณค่ากับสิ่งนั้นๆ แล้วนำมาปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม
 

 
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง  
   - PBL Problem Solving  
   - MI Multiple Intelligences  
   - กิจกรรมการทำงานเป็นกลุ่ม Storyline , Projec  
   
การสอน  
   - จัดกิจกรรมฝึกทักษะหมุนเวียนไปใน 11 เรื่อง  
   - บูรณาการกับการสอนประจำวัน , การนำเสนอผลงาน , การแสดงความสามารถพิเศษ
   - อบรมคุณธรรมที่สอดคล้อง ใช้นิทาน , เรื่องเล่า , ข่าวในชีวิตประจำวัน , ตัวอย่างชีวประวัติบุคคลสำคัญที่ประสบความสำเร็จในชีวิตใช้ทักษะอะไรบ้าง 
     
9. Montessori    
   ที่มา Dr. Maria Montessori แพทย์จากอิตาลี พัฒนาสื่อการสอนและแนวคิดการเรียนรู้ด้วยตนเองของเด็กปฐมวัย พัฒนาเป็นหลักสูตร
   นิยาม หลักสูตรการจัดการศึกษาปฐมวัย ให้เด็กเรียนรู้ด้วยตนเองจากการเล่นสื่ออุปกรณ์ที่อออแบบเฉพาะ
     
จุดเน้น     
   -  วิธีการจัดชั้นเรียนคละอายุ และวิธีสาธิตการใช้สื่ออุปกรณ์
   -  ระเบียบวินัยในการเล่นสื่ออุปกรณ์ ตามลำดับ
   -  คุณสมบัติเฉพาะของสื่ออุปกรณ์ที่มีระดับความยากง่าย ตรวจสอบข้อผิดพลาดได้ด้วยตนเอง มีจุดมุ่งหมายเฉพาะเรื่องในการเรียนรู้
   -  สื่ออุปกรณ์สำคัญ 3 หมวด หมวดการใช้ชีวิตประจำวัน , ประสาทสัมผัส , หมวดภาษา , หมวดคณิตศาสตร์
 

บทบาทครู
   -  จัดแสดงสื่ออุปกรณ์ที่เหมาะสมกับอายุเด็ก
   -  เข้าใจวิธีการสาธิตอุปกรณ์ทุกชนิดอย่างดี
   -  สอนเด็กเป็นรายบุคคลและตรวจสอบการเล่นให้ถูกต้อง
   -  สังเกตประเมินพัฒนาการเด็ก แล้วส่งเสริมให้เรียนรู้ขั้นยากขึ้นต่อไป
 
การสอน    
   -  สื่ออุปกรณ์ 3 หมวด      
   -  เทคนิคการสอนภาษา , คำศัพท์ต่างๆ , ฟัง – พูด เขียน – อ่าน  
     
10.  Whole Language    
   ที่มา   ประเทศนิวซีแลนด์  Dr. Christian Ward  
   นิยาม วิธีการสอนภาษาแบบธรรมชาติตามวิถีการดำเนินชีวิตประจำวัน  
 

จุดเน้น 
   -  สิ่งแวดล้อมเต็มไปด้วยภาษา
   -  ใช้ภาษาครบ 4 ทักษะ
     ฟังมาก = ข้อมูลในการพูด  
   พูดมาก = ได้ข้อมูลเก็บไว้ในการเรียน  
  เขียนมาก = อ่านสิ่งที่ตัวเองเขียนได้ คิดเอง
       เขียนเอง  อ่านออก
      อ่าน = อ่านแล้วเข้าใจความหมาย เขียนเรียงความจากการตั้งคำถาม  
   
          W What ,  When , Where , Why , Who , How  
          รวมคำตอบเป็นเรียงความ หัดอ่าน , ทำหนังสือเล่มเล็ก  

บทบาทครู
   -  จัดสิ่งแวดล้อมและกิจกรรมพัฒนาทักษะภาษา
   -  ครูเป็นตัวอย่างการใช้ภาษาทุกทักษะที่ถูกต้อง
   -  ครูส่งเสริมการรักการอ่านให้มากที่สุด กระตุ้นให้เด็กเขียนโดยไม่สะกด

การสอน
   -   สอนภาษาได้ทุกภาษา ครบ 4 ทักษะ

สื่อการสอนแต่ละทักษะ
          การฟัง     = อ่านให้ฟัง , เล่าให้ฟัง
          การพูด    =   จดจำข้อมูลที่ได้ฟัง , ทดสอบความเข้าใจในการแปลความหมาย
          การเขียน =    ถ่ายทอดความคิดหลายรูปแบบ คำ , ประโยค , ความเรียง ร้อยกรอง
          การอ่าน  =   อ่านหลายหลายรูปแบบ 
 

11. หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ปศพ.
   ที่มา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทาน
   นิยาม หลักการดำเนินชีวิตที่ก่อให้เกิดความสุขอย่างยั่งยืนด้วยความพอเพียง พอใจในชีวิตตน
 
จุดเน้น 
   -  3 ห่วง พอประมาณ , มีเหตุผล , มีภูมิคุ้มกัน
   -  2 เงื่อนไข ความรู้ , คู่คุณธรรม
 
บทบาทครู
   -  เป็นตัวอย่างชีวิตพอเพียง ประหยัดทรัพยากร
   -  สอนทุกอย่างด้วยเหตุผล ใช้ความรู้คู่คุณธรรมกำกับเสมอ
 
 
การสอน
   - ให้ตัวอย่างการนำไปใช้ในด้านประหยัด การใช้สิ่งของอุปโภค บริโภค พลังงานทรัพยากรธรรมชาติ อย่างรู้คุณค่า
   - การมีเหตุผลในการใช้จ่ายประจำวัน ฝึกทำบัญชีรับ – ราย และออมเงิน
   - มีคุณธรรมในการดำรงชีวิต เลือกทำดีทำสิ่งถูกต้อง ไม่ตามกระแสบริโภคนิยม
   - สอนทฤษฎีเกษตรแนวใหม่
   - สอนตัวอย่างชีวิตพอเพียง ที่ประสบความสำเร็จเป็นคนดี
   - กิจกรรมรัก รับใช้ ใจอาสา
     

การนำทฤษฎีและนวัตกรรมการเรียนรู้ แบบผู้เรียนเป็นสำคัญ
Child’s Centre Active Learning ไปใช้จัดการเรียนการสอน ดังน
ี้

1. Storyline Method
     สอนบูรณาการ ใช้เนื้อหาหลักวิทยาศาสตร์ – สังคม และบูรณาการวิชาอื่นครบ นักเรียนมีผลงานการเรียนรู้ของตนเอง ในรูปชิ้นงานรายวิชา, รายงานกลุ่ม, การทำโครงการศึกษาตามความสนใจ, การเชิญวิทยากรภายนอกมาให้ความรู้
 
2. Mind Mapping

     การเขียนแผนผังความคิด สรุปความรู้ต่าง ๆ ใช้ คำ สัญลักษณ์ ช่วยจำ ทำให้นักเรียนตรวจสอบผลการเรียนรู้ของตนเองได้ นักเรียนอนุบาลช่วยกันสรุป Mind Map กับครู ส่วนนักเรียนประถมทำใบงานสรุปความรู้ต่าง ๆ

3. การพัฒนาสมดุลสมอง
     3.1) การฝึกทักษะการคิด 6 Thinking Hats ใช้หมวก 6 สีตั้งคำถาม ครอบคลุม การคิดคล่อง
คิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ คิดแก้ปัญหา
     3.2) การบริหารสมอง Brain Gym และจัดการเรียนรู้ตามระบบการเรียนรู้ของสมอง Brain Based Learning ด้วยการจัดบรรยากาศห้องเรียน กิจกรรมกระตุ้นสมอง เกมฝึกสมอง ดนตรีเพิ่มพลังสมอง
     3.3) การฝึกความถนัด 9 ด้าน Multiple Intelligence (พหุปัญญา) เพื่อให้ครูรู้ศักยภาพ ความสามารถด้านต่าง ๆ ของนักเรียน ให้ความช่วยเหลือ ส่งเสริมพัฒนาให้เก่งขึ้นได้

4. การแสวงหาความรู้ ใฝ่เรียน ใฝ่รู้
     4.1) การทำโครงการ Project Approach ศึกษาเชิงลึกในเรื่องที่สนใจ ทำรายงานสรุปผลความรู้ ใช้กระบวนการเก็บข้อมูล สังเกต ทดลอง สรุปสมมติฐาน อย่างเป็นระบบ รวมอยู่ใน storyline
     4.2) การฝึกแก้ปัญหา Problem Based Learning การแสวงหาความรู้ ใช้ปัญหาเป็นเครื่องมือ นักเรียนฝึกการวิเคราะห์ข้อมูล นำเสนอวิธีการแก้ไขหลากหลายอย่างมีเหตุผล และหาข้อสรุป และหาข้อสรุปเลือกวิธีการที่ดีที่สุดนำไปใช้ คุณครูใช้แทรกในการสอนได้ทุกวิชา

5. การฝึกทักษะ การดำรงชีวิต
     5.1) หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ฝึกนิสัยการใช้ชีวิตประจำวันอย่างรู้คุณค่าทรัพยากรต่าง ๆ เลือกใช้สินค้าอุปโภค บริโภค อย่างมีเหตุผล ใช้จ่ายเงินอย่างประหยัด หัดทำรายการรับ – จ่าย รู้จักช่วยเหลือผู้อื่นอย่างเหมาะสมและมีความสุข
     5.2) ทักษะนิสัยคู่ชีวิต Mega Skills ฝึกทักษะสำคัญต่อการใช้ชีวิตประจำวัน การทำงาน เพื่อเป็นพื้นฐานให้ประสบความสำเร็จในชีวิต

6. สื่อ Montessori ใช้ในระดับอนุบาลมากกว่าประถม
     ดัดแปลงสื่อหมวดชีวิตประจำวัน ประสาทสัมผัส คณิต และภาษา มาเสริมการสอนให้น่าสนใจ ได้ Play and Learn อย่างมีจุดหมาย ฝึกการช่วยเหลือตนเองตามวัย|

7. การสอนภาษาแบบองค์รวม Whole Language ใช้การฝึกทักษะภาษา 4 ด้าน      
     ผ่านการดำรงชีวิตประจำวัน บนหลักการจัดสิ่งแวดล้อมเต็มไปด้วยภาษา และกิจกรรมฝึกทักษะภาษาแต่ละด้านตามลำดับการเรียนรู้ ฟัง, พูด, เขียน, อ่าน

ฟังมาก ๆ = ได้รับข้อมูลถูกต้อง เพียงพอ เก็บไว้พูดสื่อสารต่อ
พูดมาก ๆ = ฝึกการสื่อความหมาย การใช้คำยาก รวบรวมเก็บไว้เขียน – อ่าน
เขียน    = เขียนจากความคิดตัวเองบ่อย จะอ่านออกง่ายขึ้น เป็นกำลังใจให้อยาก
อ่านสิ่งที่คนอื่นเขียนต่อไป
     
อื่น = อ่านงานเขียนหลากหลาย แปลความหมายได้